"วัดเสนาสนาราม" เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ณ 101
ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
"พระนิรันตราย" วัดเสนาสนาราม เป็นพระพุทธรูปหนึ่งในจำนวน 18 องค์ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างสำหรับพระราชทานแด่วัดในสังกัดคณะธรรมยุติกนิกาย จำนวน 18 วัด
ตามพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปทองคำ ปางสมาธิเพชร ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ขนาดหน้าตักกว้าง 12 เซนติเมตร สูง 20.5 เซนติเมตร ประดิษฐานอยู่บนฐานสูง 24 เซนติเมตร ขุดพบที่ชายป่าที่ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ซึ่งมีผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย โปรดให้อัญเชิญไว้กับพระกริ่งทองคำองค์เล็กที่หอเสถียรธรรมปริตร
ต่อมามีผู้โจรกรรมเฉพาะพระกริ่ง แต่มิได้เอาพระพุทธรูปองค์นี้ ทั้งที่เป็นทองคำหนักถึง 8 ตำลึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า พระองค์นี้แคล้วคลาดถึง 2 ครั้ง เมื่อแรกที่ขุดพบก็มิได้นำไปทำประโยชน์ ส่วนครั้งนี้ก็รอดพ้น จึงถวายพระนาม "พระนิรันตราย" แล้วโปรดให้หล่อพระพุทธรูปสวมไว้ชั้นหนึ่ง จากนั้นทรงออกแบบเอง เป็นพระพุทธรูปทองคำ ปางสมาธิเพชร ครองจีวรอย่างธรรมยุติกนิกาย เบื้องหลังทำเรือนแก้ว มีพระมหาโพธิ์ ยอดเรือนเป็นมหามงกุฎหล่อด้วยเงินแท้ไว้คู่กัน
พุทธศักราช 2411 พระราชดำริว่า วัดธรรมยุติฯ เกิดขึ้นหลายแห่ง วัดควรจะมีสิ่งของเป็นที่ระลึก โปรดให้ช่างหล่อพระพุทธรูปด้วยพิมพ์เดียวกับที่หล่อพระเงินและพระทองที่ครอบพระนิรันตรายด้วยทองเหลือง และกะไหล่ทองคำ จำนวน 18 องค์ เท่าจำนวนปีที่ทรงครองราชย์ และพระราชดำริจะหล่อเพิ่มขึ้นปีละ 1 องค์ ถวายพระนามพระนิรันตรายทุกองค์ ก็สิ้นรัชกาลก่อน
ตราบถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ทำกะไหล่ทองทั้ง 18 องค์ แล้วพระราชทานแก่วัดธรรมยุติกนิกาย ตามพระราชประสงค์เดิมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนิรันตรายประจำวัดเสนาสนาราม ราชวรวิหาร เป็นองค์ที่ 3 ในจำนวน 18 องค์ ที่ทรงประทานแก่วัดทั้งหมด 18 วัด
ในปัจจุบันนี้ศิลปกรรมโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ หลายสิ่งหลายอย่างอยู่ในสภาพดีพอที่จะชม และศึกษาได้เป็นจำนวนไม่น้อย
วัดเสนาสนาราม ราชวรวิหาร เป็นพระอารามที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถือเป็นสัญลักษณ์ความเจริญรุ่งเรืองของคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายมาตราบเท่าทุกวันนี้
"พระนิรันตราย" วัดเสนาสนาราม เป็นพระพุทธรูปหนึ่งในจำนวน 18 องค์ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างสำหรับพระราชทานแด่วัดในสังกัดคณะธรรมยุติกนิกาย จำนวน 18 วัด
ตามพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปทองคำ ปางสมาธิเพชร ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ขนาดหน้าตักกว้าง 12 เซนติเมตร สูง 20.5 เซนติเมตร ประดิษฐานอยู่บนฐานสูง 24 เซนติเมตร ขุดพบที่ชายป่าที่ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ซึ่งมีผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย โปรดให้อัญเชิญไว้กับพระกริ่งทองคำองค์เล็กที่หอเสถียรธรรมปริตร
ต่อมามีผู้โจรกรรมเฉพาะพระกริ่ง แต่มิได้เอาพระพุทธรูปองค์นี้ ทั้งที่เป็นทองคำหนักถึง 8 ตำลึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า พระองค์นี้แคล้วคลาดถึง 2 ครั้ง เมื่อแรกที่ขุดพบก็มิได้นำไปทำประโยชน์ ส่วนครั้งนี้ก็รอดพ้น จึงถวายพระนาม "พระนิรันตราย" แล้วโปรดให้หล่อพระพุทธรูปสวมไว้ชั้นหนึ่ง จากนั้นทรงออกแบบเอง เป็นพระพุทธรูปทองคำ ปางสมาธิเพชร ครองจีวรอย่างธรรมยุติกนิกาย เบื้องหลังทำเรือนแก้ว มีพระมหาโพธิ์ ยอดเรือนเป็นมหามงกุฎหล่อด้วยเงินแท้ไว้คู่กัน
พุทธศักราช 2411 พระราชดำริว่า วัดธรรมยุติฯ เกิดขึ้นหลายแห่ง วัดควรจะมีสิ่งของเป็นที่ระลึก โปรดให้ช่างหล่อพระพุทธรูปด้วยพิมพ์เดียวกับที่หล่อพระเงินและพระทองที่ครอบพระนิรันตรายด้วยทองเหลือง และกะไหล่ทองคำ จำนวน 18 องค์ เท่าจำนวนปีที่ทรงครองราชย์ และพระราชดำริจะหล่อเพิ่มขึ้นปีละ 1 องค์ ถวายพระนามพระนิรันตรายทุกองค์ ก็สิ้นรัชกาลก่อน
ตราบถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ทำกะไหล่ทองทั้ง 18 องค์ แล้วพระราชทานแก่วัดธรรมยุติกนิกาย ตามพระราชประสงค์เดิมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนิรันตรายประจำวัดเสนาสนาราม ราชวรวิหาร เป็นองค์ที่ 3 ในจำนวน 18 องค์ ที่ทรงประทานแก่วัดทั้งหมด 18 วัด
ในปัจจุบันนี้ศิลปกรรมโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ หลายสิ่งหลายอย่างอยู่ในสภาพดีพอที่จะชม และศึกษาได้เป็นจำนวนไม่น้อย
วัดเสนาสนาราม ราชวรวิหาร เป็นพระอารามที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถือเป็นสัญลักษณ์ความเจริญรุ่งเรืองของคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายมาตราบเท่าทุกวันนี้